ความชื้นคืออะไร?
ความชื้นมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่กระทบต่อร่างกายหรือเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดการสะสมในปริมาณมาก ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย อาทิเช่น ไข้หวัด คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดเมื่อยร่างกาย แน่นหน้าอก แน่นท้อง เป็นต้น ช่วงใกล้หน้าฝนจะมีโอกาสที่ร่างกายได้รับความชื้นมากเกินกว่าปกติ ดังนั้น หากเราสังเกตอาการและดูแล รักษาทันเวลาจะลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาหรืออาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ทางศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ในช่วงอากาศเย็นชื้น หรืออยู่ในสถานที่ที่อากาศเย็นตลอดเวลา ส่งผลให้น้ำในร่างกายกำเริบ กระทบต่อธาตุไฟหย่อน จึงทำให้รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ กระทบต่อลมหย่อน ลมพัดทั่วร่างกายไม่สะดวก และท้ายที่สุดจะกระทบต่อธาตุน้ำ ทำให้น้ำกำเริบ มีอาการคั่งค้างของน้ำบริเวณศอ (คอ) และ อุระ (อก) ทำให้มีเสมหะหรือเสลดในลำคอในอก คัดจมูก มีน้ำมูก ดังนั้นเมื่อมีความชื้นสะสมมากยิ่งทำให้มีอาการมากขึ้น และหาได้รับการติดเชื้อ (กิมิชาติ) ยิ่งทำใก้เกิดอาการไข้หวัดอย่างรุนแรงได้
ควรรับประทานสมุนไพรไทยที่มีรสร้อนที่ช่วยขับลม
ควรรับประทานสมุนไพรไทยที่มีรสเปรี้ยวที่ช่วยกัดเสมหะ
ทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ในคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณ มักมีคำกล่าวว่า “ม้ามชอบแห้ง ไม่ชอบชื้น” เมื่อเรานั่งหรือนอนอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรืออยู่ในสภาพอากาศชื้น ความชื้นจะทำร้ายม้าม
ม้ามในการแพทย์แผนจีนคืออะไร?
ม้ามจะควบคุมการขนส่งสารน้ำและความชื้นในร่างกายได้ รวมถึงควบคุมระบบการย่อยอาหาร หากม้ามยังแข็งแรง และสามารถทำหน้าที่ได้เป็นปกติ ความชื้นก็จะไม่ก่อให้เกิดโรคหรือภาวะความชื้นต่างๆ ได้ง่าย
ผู้ที่ป่วยเนื่องจากความชื้นมากเกินไปจะมีอาการ ดังนี้
ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะที่เกิดจากความชื้นข้างต้น เราต้องใส่ใจในการปกป้องม้าม ด้วยการบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร เช่น ไม่รับประทานน้ำเย็น ไม่อยู่ในสภาพอากาศที่ชื้น หมั่นเปิดห้องระบายอากาศเพื่อลดการเกิดเชื้อรา หรือรับประทานยาสมุนไพรจีนที่ช่วยขับความชื้น แก้อาการท้องอืด เป็นต้น
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอแนะนำชาสมุนไพรจีน ที่ช่วยบรรเทาอาการจากการสะสมความชื้น “Rainy Tea” ประกอบด้วย
และยังมีตัวยาอื่นๆ ที่ช่วยลดความชื้น และช่วยย่อยอาหารในร่างกาย ส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรงในช่วงฤดูฝน สามารถชงดื่มได้ตลอดเวลา หรือสามารถปรึกษาแพทย์และเภสัชกรในการรับประทานเพื่อปรับสมดุลในร่างกายได้
บทความวิชาการโดย พท.ป.เกตฐศญาร์ สุวรรณเนตร และ พจ.บงกชญาดา วราหลิน
แพทย์แผนไทยประยุกต์และแพทย์แผนจีนประจำคลินิกแพทย์บูรณาการ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 น. - 20.00 น. วันเสาร์ 08.00 น.-16.00 น. *หยุดทุกวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
สอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย คลินิกแพทย์บูรณาการ รพ.ศูนย์การแพทย์ มฟล. 0 5391 4126 ประชาสัมพันธ์ 0 5391 7563