โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 จากการประกวดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประจำปี พ.ศ.2565 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ "ระบบจัดการจุดฝังเข็ม"" โดยนายธีรวัฒน์ ปันทะวงค์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า ในการมอบรางวัลเกียรติบัตรและได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นันทนา คชเสนี รองอธิการบดีฯ ในการมอบช่อดอกไม้เงินรางวัล เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมดอยตุง อาคารวันชัย ศิริชนะ
ทั้งนี้ การประกวดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่บรรจุในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการความรู้ (KM Master Plan) ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2564 – 2569) ในยุทธศาสตร์ที่ 1: การขับเคลื่อนการบริหารจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แผนงานที่ 1-1: แผนการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้
สำหรับ "ระบบจัดการจุดฝังเข็ม เป็น Windows Application ที่สามารถบันทึกข้อมูลหัตถการ ได้แก่ จุดฝังเข็ม และชื่อย่อของจุดฝังเข็ม ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกที่บันทึกลงบนฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถแสดงตำแหน่งจุดฝังเข็มต่างๆ ของร่างกายในรูปแบบกราฟิก 2 มิติ และจุดฝังเข็มยังสามารถเชื่อมโยงกับ ICD 10 TM"
Input : การบันทึกข้อมูลประวัติเวชระเบียนของผู้มารับบริการในศาสตร์แผนจีนเกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยต่อการสูญหายของข้อมูล แม่นยำ อีกทั้งยังง่ายต่อการเรียกข้อมูลออกมาใช้งาน
Process : การบูรณาการความรู้ของบุคลากรภายในองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับศาสตร์แผนจีน และพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้บันทึกข้อมูลของผู้มารับบริการในศาสตร์แผนจีน
Result : แอปพลิเคชันที่ใช้บันทึกข้อมูลผู้มารับบริการในศาสตร์แผนจีน สามารถนำมาบันทึกข้อมูลหัตถการ คือ จุดฝังเข็ม และชื่อย่อจุดฝังเข็มตามมาตรฐานของ WHO ในการบันทึกข้อมูลลงบนฐานระบบของข้อมูล ที่แสดงตำแหน่งของจุดฝังเข็มต่างๆ บนร่างกายออกมาในรูปแบบของกราฟิก 2 มิติ และจุดฝังเข็มสามารถเชื่อมโยงกับ ICD 10 TM
success : ทำให้การบันทึกข้อมูลเวชระเบียนเกิดความ สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ง่ายต่อการดึงข้อมูลออกมาใช้งาน ปลอดภัยต่อการสูญหายของข้อมูลซึ่งสอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, ลดการใช้กระดาษในองค์กร และเป็นสื่อการเรียนการสอน